บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กันยายน, 2017

มะเขือเปราะ

รูปภาพ
มะเขือเปราะ หรือมะเขือเสวย เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก มีขนสั้น ๆ ปกคลุมทั้งลำต้นและใบ ผลลักษณะกลมแป้น มะเขือเปราะมีหลากหลายพันธุ์ สีสันของผลก็จะแตกต่างกันเช่น พันธุ์ไวโอเลตคิง ผลมีสีม่วงปนขาว มะเขือเปราะคางกบผลสีเขียวเข้มลายขาว กลมรี ส่วนมะเขือเปราะพันธุ์ที่นิยมกินกันแพร่หลายที่สุดและจะกล่าวถึงในที่นี้ ก็คือมะเขือเปราะเจ้าพระยา ซึ่งเป็นพันธุ์ดั้งเดิม เปลือกผลสีเขียวอ่อนมีริ้วสีขาว มะเขือเปราะสดจะมีเนื้อกรอบ รสหวานปนขมเล็กน้อย นำไปจิ้มกับหลนหรือน้ำพริกต่าง ๆ หากผ่านการลวกหรือปรุงสุก เนื้อของมะเขือจะอ่อนนุ่มและรสหวานอร่อยขึ้น เมนูที่ขาดมะเขือเปราะไม่ได้ก็เช่น แกงเขียวหวาน แกงป่า ตำซุบมะเขือเปราะ การกินมะเขือเปราะ 100 กรัม ร่างกายจะได้รับวิตามินซี 24 มิลลิกรัม แคลเซียม 7 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 10 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.8 มิลลิกรัม และเส้นใยอาหาร 1.7 กรัม ในขณะที่มีพลังงานเพียง 33 กิโลแคลอรีเท่านั้น ส่วนสรรพคุณทางยาของมะเขือเปราะก็คือ ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ขับพยาธิ และลดระดับน้ำตาลในเลือด นอกจากนี้ มะเขือเปราะยังมีสารที่อาจช่วยยับยั้งการเจริญเติมโตของเซลล์มะเร็งตับและมะเร็งลำไส้ใหญ่ด้วย ขณะท

มะเขือเทศ

รูปภาพ
มะเขือเทศ  ( ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Lycopersicon esculentum  Mill.) เป็นพืชชนิดหนึ่งที่อุดมไปด้วยคุณค่าทางอาหาร มะเขือเทศขนาดปานกลางจะมีปริมาณ วิตามินซี ครึ่งหนึ่งของ ส้มโอ ทั้งผล มะเขือเทศผลหนึ่งจะมี วิตามินเอ ราว 1 ใน 3 ของวิตามินเอที่ร่างกายต้องการในหนึ่งวัน นอกจากนี้มะเขือเทศยังมี โปแตสเซียม ฟอสฟอรัส   แมกนีเซียม และแร่ธาตุอื่นๆ อีกหลายชนิด ลักษณะ [ แก้ ] มะเขือเทศเป็นพืชล้มลุกอายุเพียง 1 ปี ลำต้นตั้งตรง มีลักษณะเป็นพุ่ม มีขนอ่อน ๆ ปกคลุม ใบเป็นใบประกอบ ออกสลับกัน ใบย่อยมีขนาดไม่เท่ากัน บางใบเล็กรียาว บางใบกลมใหญ่ ปลายใบแหลม ขอบใบเป็นหยักลึกคล้ายฟันเลื่อยมีขนอ่อน ๆ ออกดอกเป็นช่อหรือดอกเดี่ยว บริเวณซอกใบ ดอกมีสีเหลือง มีกลีบเลี้ยงสีเขียวประมาณ 5-6 กลีบ ผลเป็นผลเดี่ยว มีขนาดรูปร่างและสีต่างกัน ซึ่งมีขนาดเล็กประมาณ 3 เซนติเมตร จนถึงใหญ่ประมาณ 10 เซนติเมตร รูปร่างมีทั้งกลม กลมแบน หรือกลมรี ผิวนอกลีบเป็นมัน ผลดิบมีสีเขียว หรือเขียวอมเทา เมื่อสุกจะมีสีเหลือง สีส้ม หรือสีแดง เนื้อภายในฉ่ำด้วยน้ำมีรสเปรี้ยว เมล็ดมีเป็นจำนวนมาก มะเขือเทศมีหลายพันธุ์ เช่น พันธุ์สีดา พันธุ์โรมาเรดเพียร์ เป

มะยม

รูปภาพ
มะยม  ( ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Phyllanthus acidus ) ภาคอีสานเรียกว่า หมากยม ภาคใต้เรียกว่า ยม เป็นไม้ยืนต้น ขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูงประมาณ 3 – 10 เมตร ลำต้นตั้งตรง เปลือกต้นขรุขระสีเทาปนน้ำตาล แตกกิ่งที่ปลายยอด กิ่งก้านจะเปราะและแตกง่าย ใบประกอบ มีใบย่อยออกเรียงแบบสลับกันเป็น 2 แถว แต่ละก้านมีใบย่อย 20 – 30 คู่ ใบรูปขอบขนานกลมหรือค่อนข้างเป็นสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนปลายใบแหลม ฐานใบกลมหรือมน ขอบใบเรียบ ดอก ออกเป็นช่อตามกิ่ง ดอกย่อยสีเหลืองอมน้ำตาลเรื่อๆ ติดผลเป็นพวง ผลมีสามพูชัดเจน เมื่ออ่อนสีเขียว เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือขาวแกมเหลือง เนื้อฉ่ำน้ำ เมล็ดรูปร่างกลม แข็ง สีน้ำตาลอ่อน 1 เมล็ด มีทั้งพันธุ์เปรี้ยวและพันธุ์หวาน ซึ่งมีรสหวานอมฝาด [1]  ผลจะอ่อนนุ่มเมื่อสุก จึงเก็บเกี่ยวก่อนผลจะหล่นจากต้น ถิ่นกำเนิดอยู่ที่เอเชียใต้และอเมริกันเขตร้อน [2] เนื้อหา    [ ซ่อน ]  1 จุดกำเนิดและการแพร่กระจาย 2 การใช้ประโยชน์ 3 รวมภาพ 4 อ้างอิง จุดกำเนิดและการแพร่กระจาย [ แก้ ] พืชชนิดนี้พบได้ทั่วเอเชีย และพบปลูกตามบ้านในแคริบเบียน อเมริกากลาง และอเมริกาใต้ [3] กระจายพันธุ์ข้าม มหาสมุท

มะขามป้อม

รูปภาพ
ประโยชน์ของมะขามป้อม สมุนไพรไทยๆ แต่ได้ใจ "คนอยากผอม"         คนอยากผอม ฟังทางนี้!! พืชสมุนไพรไทยที่เราเห็นกันบ่อยๆ ก็มีส่วนช่วยให้คุณผอมอย่างมีประสิทธิภาพได้ด้วยนะ ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกันก่อนว่า ประโยชน์ของมะขามป้อม คืออะไร แล้วเกี่ยวอะไรกับการลดความอ้วน ???        มะขามป้อมเป็นสมุนไพรที่คนอินเดียใช้มาเป็นพันๆ ปี ในฐานะเป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงสายตา บำรุงสมอง ซึ่งคนอินเดียเรียกมะขามป้อมว่า Amla หรือ Amalaka แปลว่า  พยาบาล หรือ แม่  ซึ่งสะท้อนสรรพคุณทางยาอันมากมายของมะขามป้อมได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังช่วยลดความดัน ลดน้ำตาลและลดไขมันในเลือด ทำให้การกินมะขามป้อมสามารถช่วยควบคุมโรคเบาหวาน ทางอายุรเวทได้ดีอีกด้วย        และเนื่องจากสรรพคุณของมะขามป้อมที่ช่วยลดคอเลสเตอรอล ลดไขมันในเส้นเลือด แก้ปัญหาความดันโลหิตสูงดังที่กล่าวไป ทำให้หลายคนที่บริโภคมะขามป้อมทราบว่าจะได้สรรพคุณที่ตามคือ การช่วยลดน้ำหนักลงได้บ้างจากการลดไขมันในเส้นเลือดลงไป และนอกจากนี้ในมะขามป้อมยังมีกรดอะมิโนแอซิดอย่าง Iysine และ Methionine ซึ่งเหมาะสำหรับคนที่กำลังควบคุมอาหารแต่ไม่อยากขาดกรดอะมิโนแอซิดที่จ

มะพร้าว

รูปภาพ
มะพร้าว  เป็น พืชยืนต้น ชนิดหนึ่ง อยู่ในตระกูล ปาล์ม  มะพร้าว เป็นพืชซึ่งสามารถใช้ประโยชน์ได้ในหลายทาง เช่น น้ำและเนื้อมะพร้าวอ่อนใช้รับประทาน เนื้อในผลแก่นำไปขูดและคั้นทำกะทิ กะลานำไปประดิษฐ์สิ่งของต่าง ๆ เช่น กระบวย โคมไฟ ฯลฯ นอกจากนี้มะพร้าวจัดเป็นพรรณไม้มงคลชนิดหนึ่ง ตามตำราพรหมชาติฉบับหลวง ได้กำหนดให้ปลูกมะพร้าวไว้ทางทิศตะวันออกของบ้าน เพื่อความเป็นสิริมงคล เนื้อมะพร้าว คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม (3.5 ออนซ์) พลังงาน 354 kcal (1,480 kJ) คาร์โบไฮเดรต 24.23 น้ำตาล 6.23 ใยอาหาร 9 ไขมัน 33.49 โปรตีน 3.33 g วิตามิน ไทอามีน  (บี 1 ) (6%) 0.066 mg ไรโบเฟลวิน  (บี 2 ) (2%) 0.02 mg ไนอาซิน  (บี 3 ) (4%) 0.54 mg กรดแพนโทเทนิก  (บี 5  ) (20%) 1.014 mg วิตามินบี 6 (4%) 0.05 mg วิตามินซี (4%) 3.3 mg แร่ธาตุ แคลเซียม (1%) 14 mg เหล็ก (19%) 2.43 mg แมกนีเซียม (9%) 32 mg ฟอสฟอรัส (16%) 113 mg โพแทสเซียม (8%) 356 mg สังกะสี (12%) 1.1 mg องค์ประกอบอื่น น้ำ 47 หน่วย μg =  ไมโครกรัม  ● mg =  มิลลิกรัม IU =  หน่วยสากล ประม